27 May 2014

ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ไม่ใช่จะบินไปได้ทุกที่

กรณีของ MH370 ที่สูญหายไปเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 นั้น นอกจากจะเป็นกรณีการสูญหายแห่งศตวรรศแล้วการเข้าใจข้อมูลข่าวสารก็ต้องใช้ความรู้มากตามไปด้วย แต่ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่บุคคลทั่วไปสามารถรับรู้ได้ก็คือเรื่องของเส้นทางการบิน

Multiple flight in rows [Flightradar24.com]

ในความเข้าใจของเรา การที่นักบินขึ้นบินแล้วมองออกไปนอกหน้าต่าง ใช้เฉพาะการบินผาดโผนหรือเครื่องบินรบ ที่ใช้การมองด้วยสายตานักบินเป็นหลัก ซึ่งจะอยู่ในกฎของ Visual Flight Rules (VFR) ซึ่งในพื้นที่การบินพาณิชย์บางพื้นที่จะไม่อนุญาตให้ใช้ VFR ในเวลาปกติ นอกจากการบินโชว์ถึงจะมีการกำหนดกันเป็นครั้งๆ

แต่ในเที่ยวบินพาณิชย์ทุกวันนี้ ในการกำหนดเที่ยวบินในแต่ละครั้งจะมีขั้นตอนมากมายกว่าจะได้มีการบินที่เรียบร้อยในครั้งหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันการวางแผนการบินจะใช้กติกาของกรมการบินพลเรือนร่วมกันด้วยกฎ Instrument Flight Rules (IFR) ซึ่งเป็นการให้เครื่องบินทุกลำ ต้องมีรูปแบบการสื่อสารกับวิทยุการบินตามมาตรฐานสากล และศูนย์ควบคุมการบินจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการบินให้กับเครื่องทั้งระดับความสูง และทิศทางในการบิน

20 May 2014

เน็ต ADSL ช้าจุงเบย

เป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดใจเวลาที่อินเตอร์เน็ตบ้านมีปัญหา ซึ่งพอเช็คพื้นที่บริการแล้วจะเปลี่ยนเป็นสายไฟเบอร์ก็มาไม่ถึง ก็เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวในยุค Digital Generation อยู่ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจยอมเปิดมือถือเพื่อเล่นเน็ต ลองตรวจสอบดูก่อนไหมว่าต้นเหตุมันอาจจะอยู่ไม่ไกลหรอก

หลายคนคงเคยทะเลาะกับเจ้าหน้าที่ผู้มาติดตั้งอินเตอร์เน็ตบ้านแตกกันมาแล้ว ด้วยสาเหตุที่ว่าอินเตอร์เน็ตเน่าหนอน แต่พอช่างมาตรวจกลับแจ้งง่ายๆว่า ไม่เจอปัญหาอะไร สัญญาณเป็นปกติดี

ตัวเลือกอย่างหนึ่งในสถานะของ ADSL Modem ที่บ้าน อาจจะพกพาคุณสมบัติพิเศษที่สามารถช่วยให้เรายืนยันคุณภาพสายได้ คือ ตัวรายงานสถานะของ Noise margin และ Attenuation นั่นเอง
"สำหรับใครที่เข้า ADSL modem ในส่วนของผู้ดูแลระบบ ให้ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IT ใกล้บ้าน เพื่อให้ลองหาวิธีเข้าถึงส่วนของ Admin โดยอย่าทำการ Hard reset อุปกรณ์"
สถานะของค่า Noise margin และ Attenuation ตัวอย่างจากอุปกรณ์ยี่ห้อหนึ่ง จะแสดงค่าดังนี้

15 May 2014

Let the People Decide!

"Let the People Decide! "
campaign note
[Image source Art Bact']
"ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!" เป็นการรวมตัวของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ ปรารถนาจะเห็นประเทศเดินหน้าต่อไปได้ด้วยการเคารพสิทธิและเสียงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย จึงได้มาร่วมกันนำเสนอทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้

เราขอพูดด้วยเสียงของประชาชนผู้ต้องการอยู่อย่างสงบสันติ คิดแตกต่างแต่ไม่แตกแยก ไม่เอาปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ต้องการเห็นการบิดเบือนกฎหมายและหลักนิติธรรมอีกต่อไป และปรารถนาจะเห็นการปฏิรูปร่วมกัน ของคนทั้งสังคมบนพื้นฐานประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน ท่ามกลางสถานการณ์ขณะนี้ เราเห็นว่าความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะนำประเทศเข้าสู่สุญญากาศทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ คนกลางที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ถือเป็นวิธีการนอกระบอบประชาธิปไตย เป็นการลิดรอนสิทธิเสียงของประชาชนพลเมืองในประเทศนี้อย่างชัดเจน

เราขอยืนยันว่าทางออกของความขัดแย้งครั้งนี้ คือให้ประชาชนได้กำหนดอนาคตตนเอง ได้มีส่วนในการตัดสินใจต่อชะตากรรมประเทศด้วยสิทธิเสียงที่มีอยู่เท่ากันทุกผู้นาม เพราะ “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!” เราขอเสนอต่อทุกภาคส่วนดังนี้

1. เดินหน้าเลือกตั้งให้เร็วที่สุดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เพราะการเลือกตั้งคือทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติในระบอบประชาธิปไตย
2. ขอให้เตรียมพร้อมเข้าสู่โหมดปกป้องการเลือกตั้ง ด้วยวิถีทางต่างๆ เท่าที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มจะทำได้บนพื้นฐานของการเคารพความเห็นที่แตกต่างและไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
3. ขอให้องค์การต่างๆ ที่พยายามหาทางออกให้กับบ้านเมืองในขณะนี้ ดังเช่นวุฒิสภา กรุณาให้โอกาสเราชี้แจ รับฟังและเคารพในความเห็นของภาคประชาชนนี้อีกฝ่ายหนึ่งด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ กปปส. หรือ นปช. เท่านั้น

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้งลุกลามบานปลายรุนแรงจนไปสู่สงครามกลางเมือง ก่อนจะถึงวันนั้นทุกฝ่ายต้องกลับสู่การเลือกตั้งเท่านั้น เพราะ “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!”

แถลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 

ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide! ประกอบด้วย กลุ่มขั้วที่ 3 คัดค้านความรุนแรง ,เครือข่ายพลเมืองเพื่อความหวัง Citizen for Hope, กลุ่มพอกันที!, กลุ่ม Respect My Vote, กลุ่ม My Freedom, กลุ่มสภาหน้าโดม, กลุ่มคนเท่ากัน,กลุ่มเพื่อนรักกัน ,กลุ่ม We Vote, กลุ่ม Ant’s Power เป็นต้น

ภาคีประชาชนคือคนกลางฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันรณรงค์ด้วยการเขียนป้าย “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide” ถ่ายรูปกับป้าย แล้วติด tag #ประชาชนคือคนกลาง #Let_the_People_Decide ใน facebook, instragram ส่งต่อจากเพื่อนถึงเพื่อนให้มากที่สุด เพื่อประเทศไทยที่คิดต่างได้และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

13 May 2014

เสรีภาพทางการเมืองของคนไทย

ในแต่ละปี จะมีไม่น้อยกว่า 3 เดือนที่ในเมืองสำคัญๆ จะมีหน่วยงานราชการหรือไม่ก็ถนนหนทางถูกม็อบประกาศปิดไป ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาก็แล้วแต่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนที่ต้องการจะพลิกขั้วอำนาจ ก็จะเป็นหน้าที่ของมวลชนในการเข้ามากดดันรัฐบาลในแต่ละสมัยก็ว่ากันไป

สิ่งที่ผู้ชุมนุมทุกสีเสื้อทำได้ในทุกวันนี้ก็คือ การเสนอข้อเรียกร้อง การสร้างเงื่อนไขทางการเมืองที่ทำให้อีกฝ่าย (โดยมากจะเป็นการกดดันรัฐบาล) ที่มีข้อต่อรองให้ทางผู้ก่อหวอดการชุมนุมประท้วงเป็นไปในแนวทางที่ได้เปรียบ ซึ่งผลลัพธ์ที่ผ่านมาในแต่ละครั้งถ้าไม่ใช่ความรุนแรง ก็จะเป็นรูปแบบของการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

Red Shirt Protest [Image Huffpost]
Red Shirt Protest [Image Huffpost]
เมื่อมองไปยังประเทศอื่นๆ เหตุการณ์ที่ประชาชนหรือฝ่ายตรงข้ามต้องออกมาเรียกร้องตั้งเงื่อนไขก็มีอยู่ทั่วไป ทั้งในเอเชียด้วยกันเอง, ตะวันออกกลาง, และยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติมากๆตามรูปแบบการปกครองในระบอบนี้ จะมีแค่บางประเทศที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นประชาชนอย่างสุดโต่งบางประเทศเท่านั้นที่ปิดหูปิดตาหรือ Censor การพูดของประชาชนอยู่

06 May 2014

ซ่อม MySQL Database ด้วย CLI

ซักช่วงระยะเวลาใหญ่ๆแล้ว หลังจากที่ถูก Oracle ซื้อไป ตัว MySQL ปรับเปลี่ยนตัส Package จาก MySQL Administrator และ MySQL Query Browser ไปเป็น MySQL Workbench เพียงตัวเดียว

ตัวคุณสมบัติหนึ่งที่หายไปคือ งาน Check, Repair ฐานข้อมูล และคุณสมบัติยิบย่อยอื่นๆด้วย อาทิการใช้คำสั่ง DML สำคัญๆ จำพวก Truncate, Drop เป็นต้น

แต่งานพวก Repair database ไม่มีนี่สิที่แย่หน่อย เพราะทำงานอะไรไม่ได้เลย จึงขอมอบ Command line เอาไว้สำหรับ DBA ดังนี้ครับ

คำสั่ง Optimize Database
mysqlcheck --all-databases --optimize --verbose -u root -p

คำสั่ง Check Database
mysqlcheck -B [dbname] --check --extended --verbose -u root -p

และคำสั่ง Repair database กรณีตรวจเจอว่าเสีย
mysqlcheck -B [dbname] --repair --verbose -u root -p

ว่าไปเดี๋ยวนี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้ละ น่าเสียดาย Free RDBMS ตัวนี้จัง

Written by Tiwakorn Laophulsuk