25 November 2014

ยังไม่ถึงยุค Electronics Payment

CRG Plus
CRG Plus, Cash card
that focus on
food industry.
ทุกวันนี้เดินไปตรงไหนก็จะเจอแต่ตู้ ATM ซึ่งปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ธนาคารต้องแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะเมื่อเอาเงินเข้าธนาคารแล้วก็ต้องกดเงินกันออกมาใช้กันเป็นเรื่องปกติ

ความเคยชินของเราทุกคนก็คงหนีไม่พ้นการชำระเงิน ความสุขมันอยู่ที่การจ่ายเงิน, รับเงิน, ทอนเงิน ช่างเป็นเรื่องดีจริงๆ

ในวันเดียวกัน หากเราไปขึ้นรถไฟฟ้า, ซื้อของใน 7-11 วิธีการจ่ายเงินที่เป็นทางการมากที่สุดก็คือเงินสดนี่แหละ เพราะถ้าใครอยากสะดวกหน่อย การถือบัตร Cash card ก็ต้องพกกันเต็มกระเป๋า เพราะหากใครอยากเร็วขึ้นนิดนึงก็ต้องถือบัตร Smart Purse, บัตร Rabbit, บัตร MRT, บัตร Airport Link นี่ยังไม่รวมบัตรเดบิต และบัตรเครดิตของธนาคารอีกนับไม่ถ้วน ซึ่งกระเป๋าที่ตุงนั้นไม่มีเงินซักบาท

แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะบ่นว่า ต้นทุนการรักษาธนบัตร หรือการควบคุมการใช้เหรียญจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ แต่อย่างไรการผลักดันการชำระเงินแบบ Electronics ยังการใช้งานจากแค่คนส่วนน้อยอยู่

ในต่างประเทศ การใช้บัตรเงินสดยี่ห้อเดียวครอบจักรวาล อย่างบัตร Octopus ประสบความสำเร็จเนื่องด้วยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่ผลักดันไปใช้ Platform เดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่ภาครัฐไม่ได้ให้แนวทางในการพัฒนาการทำ Electronics Payment แต่ปล่อยให้เอกชนพัฒนา Cash card ของตนเอง ในตลาด ซึ่งถูกปล่อยให้เป็นไปตามการผลักดันเชิงการตลาดผ่านรูปแบบการส่งเสริมการขายเป็นหลักจึงทำให้ Cash card และระบบ Electronics Payment มีการพัฒนาแบบกระจัดกระจายและใช้งานร่วมกันไม่ได้

แม้ว่าระบบ Cash card ในไทยยังเพิ่งเป็นช่วงเริ่มต้น แต่คงเป็นไปไม่ได้แล้วในการปรับมาใช้เป็น Brand เดียวกัน ตอนนี้คงทำได้แค่หาแนวทางในการปรับให้ Card ต่างยี่ห้อใช้งานร่วมกัน (Cross Platform) ให้ได้มากที่สุด การจัดทำ Clearing House ของระบบ Cash card ซึ่งหน่วยงานภาครัฐควรให้แนวทางในการพัฒนาและจุดลงตัวร่วมกันโดยให้เอกชนที่ทำไปแล้วเจ็บตัวน้อยที่สุด

คงเป็นแนวคิดที่ต้องมีสักวัน แต่ยังไม่ใช่วันนี้

Written by Tiwakorn Laophulsuk

18 November 2014

แก้ Bug เพื่อในหลวงจ้ะ

Blog นี้ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าตั้งแต่เริ่มทำงานมายังไม่เคยทำหนังสือเพื่อแจ้งโน่นนี่กับระบบงานราชการเลยซักครั้ง และเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะมิตรสหายผู้หลงเข้ามาอ่าน Blog เรื่อง "หยุดแชร์ ภงด.94 ของพระเจ้าอยู่หัว ทำขึ้นมาปลอม คิดและตอบแบบคนเสียภาษี" ได้ให้ข้อท้วงติดเกี่ยวกับหมายเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีข้อถกเถียงกันว่า รหัสประจำตัวประชาชนที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9 มีอยู่หรือไม่

การพิสูจน์ทราบเลยส่งผลต่อเนื่องไปผ่านการทดสอบโดยระบบการตรวจสอบทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเมื่อผู้ใช้ให้หมายเลขประจำตัวที่ถูกต้องเข้าไป ระบบจะแจ้งชื่อ-สกุล และรายการที่ไม่ไปใช้สิทธิขึ้นมาให้ แต่ ... ความไม่ปกติมันเกิดก็เพราะเมื่อใส่รหัสประจำตัวประชาชนของพระบรมวงศ์ศานุวงศ์เข้าไปกลับปรากฏว่าสามารถตรวจสอบรายชื่อได้จริง!!

หนังสือตอบกลับจากงานสารสนเทศของกรมการปกครอง
กรณีการค้นหารายชื่อจากบัตรประจำตัวของพระบรมวงศ์ศานุวงศ์
ราวๆต้นเดือนพฤษภาคม 2557 จึงได้ทำหนังสือไปยังผู้บริการงานสารสนเทศของกรมการปกครอง และทักท้วงไปถึงความผิดปกติของระบบที่สามารถให้ตรวจรายชื่อของบุคคลที่มีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่ขึ้นด้วยเลข 9 ได้ ซึ่งต้องขอขอบคุณ ผอ.สำนักบริหารการทะเบียนที่ให้หน่วยงานช่วยตอบหนังสือกลับมาที่ผม และได้ช่วยแก้ไขช่องว่างของระบบให้แล้วเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งโดยเจตนาแล้วการที่ปิดระบบไป ในความเห็นส่วนตัวของผมคือปิดช่องทางที่เหล่าบรรดาติ่งการเมืองจะใช้ข้อมูลเหล่านี้มาอ้างถึงการไปใช้หรือไม่ไปใช้สิทธิของเหล่าพระองค์ท่านเท่านั้นเอง

ทั้งนี้ขอขอบคุณ คุณ Pongsmile Pongsa ผู้ที่เจอ Bug นี้และแจ้งผ่านมา และขอขอบคุณ ผอ.สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยที่ไม่ทอดทิ้งเอกสารของผมนะครับ

Written by Tiwakorn Laophulsuk

11 November 2014

fsck ใช้ผิด คิดจนตัวตาย

เป็นเรื่องปกติที่ Linux server ที่ Online กันหน้าสลอนแบบใช้ Hard-disk ระบบเดิมๆ เริ่มจะทยอยอำลาโลกไปบ้างแล้ว โดยมูฃเหตุของข้อผิดพลาดที่ทำให้ระบบ File system ของ Linux มีปัญหาก็มาจากปัญหาด้าน Hardware เป็นส่วนใหญ่ บ้งก็เกิดจากระบบ Shutdown เพราะ Power supply เสีย, อีกกรณีหนึ่งก็มักจะมาจาก Memory เกิดมีปัญหาระหว่างทำงาน ทำให้ Linux เขียนข้อมูลผิดๆลงไปใน Disk

Maintenance root password prompt when file system has more error
ส่วน Server เจ้าปัญหาของผมนั้นเริ่มจาก SMTP ธรรมดา แต่สาย SATA เจ้ากรรมดันเก่าและหลุดจาก Disk ในระหว่างเครื่องทำงานอยู่ ส่งผลให้ไฟล์ที่เขียนเสียโดยทันที และระบบก็ Boot ไม่ผ่านแม้จะแก้ไขแล้ว

ซึ่งเป็นธรรมดาถ้าระบบ File System ของ Linux เสียหายหรืออ่าน Superblock ไม่ได้ ระบบจะหยุด boot และเข้า Recovery โดยทางผู้ใช้ต้องใส่รหัส Admin เอง

ข้อความด้านล่างต่อไปนี้ ให้ข้อสรุปสั้นๆเลย ห้ามตอบ Yes

[root@sites ~]# fsck -v /dev/mapper/VolGroup00-LogVol00
fsck 1.39 (29-May-2006)
e2fsck 1.39 (29-May-2006)
/dev/mapper/VolGroup00-LogVol00 is mounted.

WARNING!!!  Running e2fsck on a mounted filesystem may cause
SEVERE filesystem damage.

Do you really want to continue (y/n)?

เพราะผลที่ได้คือ File system เสียหายไปจากเดิมมาก เพราะในระหว่างที่ System ทำงานอยู่ ก็มีการเขียน Disk จาก Process อื่นอยู่ด้วย

ข้อควรจำ
  • หากจำเป็นต้องทำ fsck ควรใช้แผ่น Boot หรือ Live CD ในการ boot เพื่อซ่อม Disk เสมอ เป็นภาคบังคับ
  • หากต้องการตรวจสอบความเสียหาย ควรใช้ parameter -n ตามหลัง (ตัวอย่าง fsck -n /dev/fs0) เพื่อดึงเอา Error มาพิจารณาก่อน
เขียนไว้เตือนตัวเองและท่านอื่น อย่าทำประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกน่ะ

Written by Tiwakorn Laophulsuk

04 November 2014

เรื่องเล่าจากป๊า: ศรีสะเกษสงครามโลกครั้งที่สอง (ตอน 1)

ช่วงสายของศรีสะเกษวันหนึ่ง อยู่ในช่วงที่มีทหารญี่ปุ่นได้เดินประจำการอยู่ในเมืองทั่วไปหมด เสียงหวอเตือนภัยได้ดังขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าจะมีการโจมตีทางอากาศในไม่กี่นาทีข้างหน้า

แม่ค้าในตลาดต่างกุลีกุจอเก็บข้าวของ บางคนหอบอะไรหยิบฉวยของตนเองไว้ได้ก็วิ่งเพื่อกลับไปบ้านทันที ในระหว่างที่ทุกคนวิ่งออกจากตลาดนั้น ก็ยังมีเด็กชายคนหนึ่งเดินสวนกลับเข้ามา และเก็บเศษเหรียญสตางค์ที่หล่นกระจัดกระจายตามพื้นที่พอจะหาได้ทั่วไปเพราะเจ้าของแผงได้วิ่งออกจากร้านไปแล้ว
[Image source: Wikipedia]

เครื่องบินของพันธมิตรบินอยู่ในระดับที่สูง พร้อมโปรยระเบิดลงมาจากเครื่องโดยเป้าหมายตั้งใจเล็งไปที่สถานีรถไฟและรางรถไฟ เพื่อจงใจทำลายสาธารณูปโภคในระบบงานขนส่งรถไฟที่ญี่ปุ่นยึดไว้ใช้งานในช่วงนั้น เป้าหมายเพื่อเป็นการตัดกำลังการส่งเสบียงผ่านทางรถไฟช่วงสงคราม เสียงระเบิดเริ่มดังขึ้นใกล้บ้าง ไกลบ้าง มีการยิงตอบโต้จากปืนต่อต้านอากาศยาน แต่ก็ไม่ค่อยมีผลนัก เพราะกลุ่มของเครื่องบินมีไม่กี่ลำ และปืนต่อต้านอากาศยานของญี่ปุ่นที่มีแค่ 1-2 กระบอก

ทุกคนในอำเภอเมืองได้รับการเตือนให้กลับมาลงหลุมหลบภัยในแต่ละวันที่มีการเตือนจากทหารญี่ปุ่น และเหนืออาคารของธนาคารออมสินเองก็จะมีการใช้ระฆังตี 2 ครั้ง และเสียงกลองตี 2 ครั้งสลับกันเป็นสัญญาณเตือนร่วมด้วย ทำให้การเตือนภัยที่ได้ยินในแต่ละครั้งจะมีเสียงหวอและเสียง "ตุ้ม ตุ้ม เม้ง เม้ง" กับเสียงไซเรนในช่วงก่อนการทิ้งระเบิดทุกครั้งไป

ลูกระเบิดที่ตกถึงพื้นในบางครั้งใกล้มากจนส่งทำให้เศษดินกระเด็นสูงขึ้นไปไกลและตกลงมาที่พื้นเสียงดังซ่า ในครั้งหนึ่งยังมีข่าวว่าระเบิดลูกหนึ่งตกลงไปในหลุมหลบภัยของครอบครัวที่อยู่ในชุมชนเดียวกันทำให้เสียชีวิตทั้งหมด หรือลูกระเบิดในบางลูกที่ไม่ทำงาน ทหารฐี่ปุ่นก็ต้องมาทำลายทิ้งทำให้เมืองศรีสะเกษมีเสียงการทำลายระเบิดทิ้งเป็นระยะตลอดช่วงสงครามในช่วงนั้น

การทิ้งระเบิดใช้เวลาไม่กี่นาทีก็สงบลง เด็กชายผู้นั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมกับเงินที่เก็บจากพื้นเป็นเศษสตางค์กลับมาที่บ้าน คุณแม่ที่เพิ่งพาลูกๆคนอื่นออกจากหลุมหลบภัยเห็นลูกชายคนเล็กเพิ่งกลับมาบ้านแบบนั้นก็เอาไม้เรียวมาตีอย่างแรง แม้ระเบิดจะไม่ตกในบริเวณใกล้เคียงเลย แต่ความเจ็บของไม้เรียวมันแย่พอๆกับการโดนระเบิดซะนี่

นั่นคือภาพลางๆ เมื่อปี พ.ศ.2485 ของเด็กชายที่ยังไม่ได้เข้าใจว่าสงครามคืออะไร

Written by Tiwakorn Laophulsuk


The historic information may not be accurate due to collected from third person interviewing. Blog owner might not accept the use for reference.