พิธีแต่งงานจึงเป็นงานที่จะทำให้ยุ่งยากก็ได้ หรือจะทำให้ง่ายก็ได้ มีการจัดในหลากหลายศาสนาและความเชื่อ ซึ่งผมคิดว่าแต่ละศาสนาคงมีความยุ่งยากไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ ทางเลือกการจัดการงานแต่งก็สามารถเลือกได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นซื้อ Package สำเร็จรูป, บริหารจัดการเอง, หรือมอบหมายให้ผู้ใหญ่จัดการให้ในบางส่วน
คู่บ่าวสาวจึงเลยต้องมาทำหน้าที่เป็น Project Manager ขนาดย่อม โดยจะต้องตัดสินใจทั้งรูปแบบและทางเลือก รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ในกรอบเวลาที่มีจำกัด เพราะการจัดงานนี้ไม่สามารถจะออกแบบโดยคร่าวๆได้ เพราะในรายละเอียดแต่ละอย่างจะต้องขุดลึกลงไปถึงรายละเอียดที่เล็กที่สุด หลายคู่ในตอนเริ่มก็คิดวางแผนจะทำโน่นนี่ไว้อย่างหรูหรา พอลงรายละเอียดแล้วก็อาจจะต้องตัดทิ้งไป เพราะรายละเอียดเยอะจนจัดการไม่ไหว
การออกแบบขั้นตอนการแต่งงานก็เหมือนการทำ Work Breakdown ซึ่งคู่ที่จัดงานประสบความสำเร็จก็ใช้กลไกการลำดับรายละเอียดปลีกย่อยนี่แหละ (เพียงแค่ไม่ได้เรียกว่า Work Breakdown) ซึ่งต้องมีรายละเอียดงานทั้ง แขก, สถานที่, พิธีเช้า, เที่ยง (ถ้ามี), เย็น, และลำดับพิธีการ ในแต่ละอย่างก็จะมีความลึกซึ้งลงไป เช่น ในเรื่องลำดับพิธีการก็จะต้องระบุถึง พิธีกร, คิวงาน, องค์ประกอบแวดล้อมต่างๆ
ไหนจะต้องเจอกับกระบวนการที่ไม่สามารถเตรียมการล่วงหน้าได้ หรือกระบวนการที่เร่งความเร็วไม่ได้ เช่น เรื่องของอาหาร, ขันหมาก, การจัดดอกไม้ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่จะเตรียมการล่วงหน้าได้ การทำงานกับเรื่องเหล่านี้ จะต้องถึงวันและเวลางานเท่านั้นก่อนเท่านั้นจึงจะเห็นและตรวจสอบผลลัพธ์ได้
คนไหนที่แต่งไปแล้วและผ่านงานขนาดกลางๆมาก่อน ก็ถือว่าเราได้ผ่านการพัฒนาโครงการส่วนตัวขนาดย่อมๆสำเร็จแล้ว ผลจะดีหรือไม่ดีก็เป็นเรื่องที่รับทราบและแนะนำคนอื่นต่อไปเพราะคงไม่มีใครกลับมาจัดซ้ำรอบสอง ถ้าเราเป็นผู้บริหารบริษัทและต้องการรับ IT Project Manager ลองคุยกับเขาเรื่องงานแต่งงานดูสิ อาจจะได้คำตอบดีๆในอีกมุมมองนึงก็เป็นได้
Written by Tiwakorn Laophulsuk
No comments:
Post a Comment
Give a comment ...