29 March 2013

รถไฟใต้ดิน งงสถานี ดูสีได้

รถไฟฟ้าใต้ดินสายปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่ เป็นรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงิน เส้นแรกที่เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ.2547 ผู้เขียนยังจำได้ว่าได้ไปขึ้นรถไฟฟ้าฟรีตั้งแต่วันเปิดช่วงแรกๆ ซึ่งคงเป็นการทำ Load test ของระบบ ซึ่งน่าประทับใจที่ระหว่างเส้นทางก็เป็นอุโมงค์มืดๆ แต่ช่วยให้ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเดินทางไปทำงาน และแก้ไขปัญหาตาม site งานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เขียนเองก็ใช้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบ่อยมาก แต่ก็ยังไม่ได้จ่ายเงินมากจนทำให้ MRT รวยหรอกนะ

เรื่องเล่าเล็กๆน้อยๆรอบนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องของสีโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่เป็นแผนก่อสร้าง แต่เป็นเรื่องของสี ที่คนที่ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สายสีน้ำเงินบ่อยอยู่แล้ว อาจจะไม่เห็นว่าเป็นเรื่องแปลก หรือบางคนที่ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินในระดับไม่เกินปี อาจจะไม่สังเกตุเห็นว่าแต่ละสถานีมี "สี" ประจำสถานีด้วย

เนื่องจากตัวผู้เขียนเองก็ยังไม่ได้ e-mail ไปถามกับทาง MRT ว่า ระบบสีที่กำหนดให้แต่ละสถานีต่างๆ มีไว้ใช้เพื่อความสวยงามหรือไม่ แต่ด้วยเราเป็นพวกชอบคิดไปเรื่อยเปื่อย ก็เลยเดาถึงประโยชน์ว่า ในกรณีที่ผู้เดินทางไม่สามารถอ่านป้ายสถานีที่ติดอยู่ตามเสาได้ หรือ ผู้พิการทางหูที่ไม่สามารถได้ยินเสียงประกาศในขบวนรถ ก็จะยังจะทราบถึงสถานีที่รถไฟฟ้าเข้าจอดได้ โดยสังเกตุจากแถบสี หรือรูปแบบการก่อสร้างที่ใช้กระเบื้องต่างสี เป็นสัญลักษณ์กำกับตัวสถานี โดยสีที่พอจำได้ มีดังนี้

สถานีบางซื่อ - แถบผนัง/เสาสีน้ำเงิน
สถานีกำแพงเพชร - แถบผนัง/เสาสีแดง
สถานีจตุจักร - แถบผนัง/เสาสีน้ำเงิน
สถานีพหลโยธิน - แถบผนัง/เสาสีเหลือง
สถานีลาดพร้าว - แถบผนัง/เสาสีเขียว
สถานีรัชดาภิเษก - แถบผนัง/เสาสีชมพูเข้ม
สถานีสุทธิสาร - แถบผนัง/เสาสีแดง
สถานีห้วยขวาง - แถบผนัง/เสาสีส้ม
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แถบผนัง/เสาสีน้ำเงิน
สถานีพระราม 9 - [[รอยืนยันข้อมูล]]
สถานีเพชรบุรี - [[รอยืนยันข้อมูล]]
สถานีสุขุมวิท - แถบผนัง/เสาสีน้ำเงิน
สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ - แถบเสาสีทอง
สถานีคลองเตย - ลายกระเบื้องสีชมพู
สถานีลุมพินี - ลายกระเบื้องสีเขียว
สถานีศาลาแดง - [[รอยืนยันข้อมูล]]
สถานีสามย่าน - [[รอยืนยันข้อมูล]]
สถานีหัวลำโพง - [[รอยืนยันข้อมูล]]

แถบสีของสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ และสถานีเชื่อมต่อ
แถบสีของสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ และสถานีเชื่อมต่อ Photoes by SuthinSoonthorn using for Google Earth Underground train, MRT, Bang Sue station

ซึ่งด้วยการพัฒนาการก่อสร้างนี้ก็ได้เห็นความเข้าใจคิดของทีมผู้ออกแบบสถานี ที่ได้เน้นจุดเล็กๆน้อยๆ เพื่อความสะดวกของผู้เดินทางในรถไฟฟ้าใต้ดินคนอื่นๆ แต่สำหรับถ้าใครที่ยังงงหรือนึกไม่ออกว่าสีอะไรอยู่ตรงไหน ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินรอบหน้า อาจจะงดเล่น BB แต่ให้ลองนั่งมองสีของสถานีดู ก็จะได้เรื่องไปอำเพื่อนๆ อีกทอดหนึ่งก็เป็นได้

No comments:

Post a Comment

Give a comment ...