"อีก 38 ปี (2555) จะเกิดอาเพศรุนแรง แผ่นดินไหวรุนแรงเกือบทั่วโลก จะโดนทั้งไทย พม่า ฯลฯ กรุงเทพฯ จมดินจมน้ำ เขื่อนที่จังหวัดตากก็พัง ในเวลายามสองในคืนปีใหม่ คนไทยฉลองกันสนุกสนาน เกิดแผ่นดินไหวมีคนตายมากมาย" -- บันทึกคุณพ่อ ดช.ปลาบู่
"นอกจากนั้นแล้ว ยังจะเกิดเขื่อนใหญ่ 2 เขื่อนแตก น้ำทะลักสู่เบื้องล่างจมหายแทบทั้งหมด ต่อเนื่องมาถึงกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้ผู้คนล้มตายหลายหมื่นคน นอกจากนั้นแล้ว ยังจะเกิดแผ่นดินทรุด อาจทำให้ประเทศไทยเสียแถบชายฝั่งทะเลอันดามันงแต่จังหวัดระนองลงมาไปหมด ส่วนที่เกาะภูเก็ต กระบี่ พังงา จะถูกคลื่นยักษ์สึนามิพุ่งเข้าถล่มครั้งใหญ่กว่าปี พ.ศ.2547 กวาดผู้คน บ้านเรือน ยานพาหนะ ลงทะเลเกือบหมดสิ้น" -- โสรัจจะ นวลอยู่ 20 ธันวาคม 2554อ่านแล้วแทบจะไม่ต้องเป็นอันทำมาหากินกันต่อ นอกจากนอนรอความตายอยู่เบื้องหน้า ซึ่งคำทำนายส่วนใหญ่ต่างก็ผิดๆถูกๆ เหมือนเหวี่ยงแหไป ใครทายถูกก็ดัง ส่วนที่ทายไม่ถูกก็เงียบไปเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา
แต่ก็ข้อดีของการอ่านคำทำนายแผลงๆ เหล่านี้ อย่างน้อยก็ให้โอกาสพวก Nerd ได้คิด ว่าจะรับมือกับปัญหาอย่างไร และไม่ซ้ำรอยกับกรณีศึกษาที่มีมาจากแหลายๆที่
ถ้ากรุงเทพฯ เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ก็คงจะไม่ต่างจากเมือง ปอร์โตแปรงซ์ (ผมชอบอ่านเป็น พอร์ต อู ปรินซ์ http://en.wikipedia.org/wiki/Port-au-Prince) เดือนมกราคม 2010 หลังจากฉลองปีใหม่เพียงไม่กี่วัน ถ้าความแรงของแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียง ส่งผลถึงกรุงเทพมากเท่านั้น สภาพของกรุงเทพก็คงไม่ต่างกัน
เมื่อภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แบบไม่ต้องทำนาย เพราะต่างก็รู้อยู่ว่าทุกภัยพิบัติก็เกิดขึ้นได้ การตั้งเวลาบอกเหตุไว้ตามคำทำนาย ก็เป็นการช่วย ลุ้น และสร้าง ข่าว ไว้สร้างสีสรรค์ของการใช้ชีวิต แต่การทำงานเพื่อรับมือภัยพิบัตินั้น ไม่ใช่เรื่องลอยๆลมๆ หรือเป็นแค่คำพูดที่บอกอกมาแล้วจบไป
ตัวอย่างของหน่วยงานที่แผนปฏิบัติที่มีอยู่แล้วคือ ในประเทศสหรัฐฯ หน่วยงาน FEMA (Federal Emergency Management Agency) ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1983 จากปัญหาการเกิดภัยพิบัติและการเรียนรู้มาเป็นหลักร้อยปี เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ และตัดสินใจในการแก้ไขเป็นหน่วยงานแรก ในปัจจุบัน FEMA ยังคงเพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือ, ป้องกัน, การฟื้นฟู ให้กับประชากรของสหรัฐ ซึ่งเราเห็นภาพได้ง่ายกว่าจากภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่มี FEMA เป็นหน่วยงานนักแสดง
ถ้ามามองเมืองไทย หน่วยงาน FEMA เปรียบเทียบได้กับ หน่วยงาน ศปภ. แบบถาวร ที่มีความสามารถในการบูรณาการในภาพรวมสูงสุด เพราะในทุกวันนี้เราใช้การทำงานตอบสนองต่อตามรูปแบบของปัญหาเฉพาะ (Ad-hoc) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล, หรือการกำหนดคณะทำงาน เมื่อเหตุการณ์จบไป การทำงานและความสำคัญก็ลดลงไปด้วย เมื่อเกิดเหตุการณ์อื่นอีก เราก็ทำ ในกระบวนการนี้อีก ถ้าเราสามารถช่วยสนับสนุนเปลี่ยนแปลงได้ ระบบที่หลายคนคาดหวังจะให้มีในเมืองไทย นั่นคือศูนย์กลางเพื่อบริหารจัดการภัยพิบัติ ด้วยการใช้ประโยชน์ด้านสารสนเทศจากหน่วยงานที่ทำงานอย่างกระจัดกระจายในปัจจุบันนี้ ให้เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการเตือนภัย, รับมือ, และฟื้นฟู เพื่อให้ประชาชนทั้งหมดได้ใช้ชีวิตต่อไปอย่างไม่พารานอย
Port-au-Prince images from Wikipedia |
Written by Tiwakorn Laophulsuk
5-Jan-2012
No comments:
Post a Comment
Give a comment ...