ในบางวัน ทหารญี่ปุ่นจะบังคับสั่งให้คนในอำเภอทุกหลังให้ให้เอาแป้งเปียกไปราดบนหลังคา ด้วยความเข้าใจที่ว่าในเวลาที่เครื่องบินของพันธมิตรบินตรวจเป้าหมายในตอนกลางคืน จะมองเห็นเงาสะท้อนของหลังคาที่คล้ายกับน้ำในบึง ซึ่งทหารญี่ปุ่นคงคิดว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายในพื้นที่นั้นๆ นึกภาพตามก็คงจะงง แต่เอาเป็นว่าชาวบ้านต้องทำแบบนั้นเพราะทหารเขาสั่ง
ในบางครั้ง ก็มีดลุ่มขบวนการเสรีไทยที่เป็นกลุ่มคนไทยบางส่วนที่ต่อต้านญี่ปุ่นทำการปีนขึ้นไปบนตัวรถไฟขนสินค้าระหว่างที่วิ่งออกจากสถานีศรีสะเกษ แล้วก็ไปถีบเอาสิ่งของบนตัวรถลงมา เมื่อทหารญี่ปุ่นเห็นและรู้ตัวคนที่ไปถีบของก็กระโดดออกจากตัวรถและขบวนรถก็วิ่งข้ามสะพานดำ (สะพานรถไฟที่ข้ามห้วยสำราญ) ไปแล้ว จึงเป็นครั้งแรกๆที่เด็กชายเห็นและคุณปู่ได้เรียกบุคคลเหล่านั้นว่าขบวนการ "ไทยถีบ"
จากความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของการทำสงคราม ความอ่อนแอของกองทัพญี่ปุ่น เกิดขึ้นเพราะการต่อสู้ที่กระจายตัวในพื้นที่ต่างๆมากมาย จนไปถึงการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ กองทัพญี่ปุ่นจึงค่อยๆทยอยถอนกำลังออกไป และความเป็นปกติสุขของจังหวัดก็ค่อยๆทยอยกลับคืนมาหลังปี พ.ศ.2488
ในวันหนึ่งในวงกินข้าว คุณปู่ได้ถามลูกๆทั้ง 5 คนว่าใครคนไหนจะเป็นอัยการ, ทหาร, ข้าราชการ ลูกๆแต่ละคนก็ยกมือเป็นโน่นเป็นนี่กันไป และเมื่อถามถึงว่าใครจะเป็นหมอ มีเด็กชายผู้หนึ่งยกมือและบอกว่า ผมจะไปเป็นหมอครับ ซึ่งเด็กชายซุกซนในวัยนั้นในภายหลังคือคุณพ่อของผู้เขียน นพ.เฉลิมชัย เหล่าพูลสุข นี่เองครับ
Written by Tiwakorn Laophulsuk
The historic information may not be accurate due to collected from third person interviewing. Blog owner might not accept the use for reference.