Images by mk2010 |
ถ้ากินยามาบ่อยๆ จนได้ข้อสังเกตุบนสลากยา เราเพิ่งตระหนักได้ว่า การกินยาแต่ละตัว ไม่ได้รักษาตัวเชื้อโรค แต่มันเป็นการแก้ไขที่ตัวของเราเองเพื่อรักษาโรคต่างหาก ตัวอย่างของอาการของโรคพื้นๆ ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราเป็นหวัด ยาที่รักษาได้ชะงัก เช่น Pseudoephedrine (ซูโดเอฟริดีน) หรือ อาจจะเป็นยาลดอาการของไข้หวัด พวก ดีคอลเจน, ทิฟฟี่ ตัวยาเป็นการช่วย "บรรเทาอาการของไข้หวัด" เพราะไม่มียาประเภทใดสามารถ "ฆ่าเชื้อหวัด" ได้ ดังนั้น คนที่รักษาไข้หวัดจริงๆ ก็คือตัวเราเอง และยาเป็นเพียงการช่วยลดผลกระทบจากอาการของการเป็นหวัดเท่านั้นเอง
การปวดหัว การปวดกล้ามเนื้อ กลุ่มยาประเภท Paracetamol ถ้าแรงหน่อยก็เป็นพวก Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ที่เราเข้าใจกันว่า "แก้ปวด" นั้น ไม่ได้เป็นการแก้ที่อาการปวด แต่ตัวยา เป็นการยกระดับความสามารถของร่างกายเราให้ "รับอาการปวดได้มากขึ้น" ดังนั้น การกินยาแก้ปวดก็เป็นเพียงการปกปิดอาการปวดเอาไว้ ซึ่งไม่ได้หายปวดจริงๆ
อีกกลุ่มที่รักษาโรคพื้นๆ ก็คือ "ยาฆ่าเชื้อ" เพราะยาที่เราทานเข้าไป ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อโรคโดยตรงเหมือนกันเทแอลกอฮอล์ใส่แผล แต่ยาฆ่าเชื้อประเภท Antibiotic ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Ammoxycilin (แอมมอคซีซิลิน) หรือ Norfloxacin (นอร์ฟลอคซาซิน) เป็นตัวยาที่ช่วย "ยับยั้งการแพร่เชื้อ" ในท้ายที่สุด ร่างกายของเราจะเป็นคนปรับสมดุลของแบคทีเรียต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทางด้วยตัวเอง
ดังนั้น การใช้ยาของเราทุกวันนี้ "ไม่ได้เป็นการรักษาหรือแก้ไขให้โรคหายไป" แต่เป็นการ "ควบคุมเหตุของการเกิดโรค" เพื่อให้ร่างกายจัดการกับโรคภัยไข้เจ็บในทางที่ดีขึ้นได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยให้ดี ไม่ใช่ว่ากินยาแล้วจะต้องหายแล้วจะทำตัวอย่างไรก็ได้ อีกต้องมีการเลือกใช้ยาให้พอดีและเหมาะสมกับอาการของโรคที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมอีกด้วย
Written by Tiwakorn Laophulsuk
No comments:
Post a Comment
Give a comment ...