INET Bangkok 2013 |
จุดเด่นของงานนี้คือ มูลนิธิ Internet Society (ISOC) เป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อเริ่มจัดงานนี้เป็นครั้งแรก พอฟังดูแล้วอาจจะน้อยใจไปหน่อยเพราะ ISOC จัดมาทั่วโลกแล้วรวมไปถึงบางประเทศใน South East Asia ด้วย ประเทศไทยนั้นเพิ่งจะได้จัดมาทีหลัง แต่ยังไงซะก็ดีกว่าไม่ได้เริ่ม
ในงานนิทรรศการใช้พื้นที่ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นซุ้มการให้ความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นพื้นที่ของเจ้าภาพที่มาช่วยกันจัดงานนี้ แม้ว่าป้ายบอกทางจะน้อยไปหน่อย แต่โชคดีที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ไม่มีงานสัมนาอื่นไม่งั้นแล้วคงเดินหายากหน่อย
เอกสารที่ได้รับนอกจาก Agenda แล้ว ที่เป็นชิ้นเป็นอันหน่อยก็คือหนังสือคู่มือพลเมืองเน็ต จาก Thai Netizen ซึ่งจริงๆแล้วมีให้อ่าน Online ได้
คู่มือพลเมืองเน็ต เล่ม Hardcopy ตัวเป็นๆ |
Theme คำถามแรกคือ Internet: The Power to Create ซึ่งผู้เสวนาได้ให้วิสัยทัศน์ไว้หลากหลายความเห็น ดังต่อไปนี้
- ดร.ทวีศักดิ์ - อยากมองเห็นมาตรฐานเปิดของ Hardware ด้าน Internet ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา Internet และเสริมว่าแม้ในทุกวันนี้ Internet จะมีเรื่องในเชิงลบ แต่ก็อยากให้เข้าใจว่า Internet เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งซึ่งมันมีทุกด้านของสังคม
- ดร.ศักดิ์ - แม้ว่ารัฐจะพัฒนาระบบ e-Service ต่างๆมากมาย แต่ในหลายจุดก็พัฒนาเข้าหาแต่ตัวเองโดยไม่ได้ถามประชาชน ซึ่งแตกต่างจากประเทศอย่างสิงคโปร์ที่จะสอบถามความต้องการของประชาชนก่อน ซึ่งจะช่วยให้การสร้างสรรค์บริการได้เกิดประโยชน์กับประเทศอย่างเต็มที่
- ผศ.ดร.กาญจนา - บนโลก Internet มีความเป็นประชาธิปไตยในของตนเองอยู่แล้ว ด้วยกลไกนี้จะทำให้มีการร่วมมือกันสร้างไปด้วยกัน (ในความหมายของ Collaboration) แต่ในมุมมองแล้วเห็นว่าถ้าช่วยกันสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถก็จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ Internet ในเชิงสร้างสรรค์ได้
- คุณสุรางคณา - ออกแนว Abstract หน่อย แต่ข้อสรุปมุมมองการสร้างสรรค์คือ การได้ลงมือทำความฝันที่เกิดในวันนี้ให้เกิดขึ้นในวันข้างหน้า พร้อมกับทำสิ่งแวดล้อมให้เกื้อหนุนต่อการพัฒนา
- คุณดวงทิพย์ - เป็นตัวแทนจาก ISOC คนไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิดงาน INET Bangkok 2013 ในครั้งนี้ด้วย ให้ความสำคัญในบริบทของ "การสร้างสรรค์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต" ที่เปิดโอกาสให้งานสร้างสรรค์สามารถทำได้โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กระบวนการหรือกฎข้อบังคับมากเกินไป ซึ่งการสร้างสรรค์ต้องมีความเป็นบูรณาการที่เกิดจากสังคมนั้นๆ คุณดวงทิพย์เองยังได้มองถึงการการแข่งขันการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่วัดกันตามจำนวนประชากร แต่อยากให้มองอีกมุมหนึ่งคือภาษา การที่มีภาษาเข้ามาในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นก็เป็นการสร้างโอกาสการเข้าถึงของภาษานั้นที่สนับสนุนการสร้างสรรค์ให้มากขึ้นตามไปด้วย
INET Bangkok 2013 Discussion Session Day 1 |
- ดร.ทวีศักดิ์ - ท่าน ดร. ได้ยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆไปแล้วคือ จากที่เมื่อก่อนเราต้องเสียค่าโทรทางไกล แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถพูดคุยสื่อสารระยะไกลได้นานเท่าที่ต้องการได้แล้ว ดังนั้น สิ่งที่อยากเห็นต่อไปคืออินเตอร์เน็ตที่มีความทั่วถึง, มีความมั่นคง, มีราคาที่ยอมรับได้ เพื่อให้เข้าถึงชีวิตประจำวันของคนที่ทำงานในปัจจุบันและเป็นประโยชน์ต่องานสาธรณสุขและคุณภาพชีวิตของคน มีความเป็น Ubiquitous โดยอยู่ภายใต้ความรู้เท่าทันของผู้ใช้ อีกทั้งมีกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลคุ้มครองอยู่
- ผศ.ดร.กาญจนา - ปัจจุบันเราขาดวิศวกรระบบที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และโครงสร้างพื้นฐานของ Internet อยู่มาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเด็กรุ่นใหม่ขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และไม่ชอบเรื่องที่ทำยาก สิ่งที่ฝันคืออยากเห็นความเท่าเทียมของการใช้เทคโนโลยี
- ดร.ศักดิ์ - สิ่งที่ฝันไว้คือความสะดวกในการทำธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย
- คุณสุรางคณา - อยากให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมีความเข้าใจด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลขั้นพื้นฐาน มีการใช้งานสื่อในรูปอิเลคทรอนิคส์ที่เกิดประโยชน์ต่องาน ซึ่งคุณสุรางคณาได้ยกตัวอย่างกรณีของ e-Court ในประเด็นการใช้หลักฐานทางอิเลคทรอนิคส์ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนระเบียบและกฎข้อบังคับให้ยอมรับหลักฐานในรูปสื่ออิเลคทรอนิคส์ ในภาพกว้างคือการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ พร้อมกับรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้ได้
- คุณดวงทิพย์ - วันนี้เป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้แสดงตัวตนบนโลกอินเตอร์เน็ตมากขึ้นกว่าเดิม เทคโนโลยีที่มีเพิ่มเข้ามาใหม่เช่น IPv6 จะเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้เข้าสู่ระบบได้แบบไร้ข้อจำกัดได้
- ดร.ทวีศักดิ์ - องค์กรและหน่วยงานยังมีความจำเป็นต้องควบคุมการใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ เป็นเพราะธรรมชาติของคนไทยเองที่เป็นกลไกบังคับให้ต้องเป็นแบบนั้น
- คุณสุรางคณา - อินเตอร์เน็ตมีสองด้านโดยธรรมชาติทั้งบวกและลบ แต่การที่จะทำให้พื้นที่ของอินเตอร์เน็ตมีความสร้างสรรค์คือ ผู้ใช้งานควรมีจิตสำนึกในการเคารพต่อเพื่อมนุษย์มากขึ้น
- คุณดวงทิพย์ - ไม่ว่าอินเตอร์เน็ตจะเป็นแบบใด แต่สิ่งสำคัญคือคงต้องมีความเสรี แต่เราต้องช่วยกันใช้งานอย่างสร้างสรรค์โดยอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม
INET Bangkok 2013 |
Narrated by Tiwakorn Laophulsuk
No comments:
Post a Comment
Give a comment ...