ภาพซอง ภงด.94 ระบุหน้าซองในพระนามของในหลวง |
“ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่ก่อนแล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดหรือเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย” -- พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2491 [อ้างอิง1]
"มาตรา 8 ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความ ยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้นดังกล่าวแล้ว" -- พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479
สรุปสั้นๆ ไม่ต้องถ่ายรูปซอง ภงด ให้เสียเวลา ผมขอสรุปในประเด็นที่ว่าในหลวงของเราเสียภาษีแน่นอนตาม พรบฯ มาตรา 8 อยู่แล้วครับ
มองต่อไปในทางเดียวกัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำหน้าที่เป็นนิติบุคคลเพื่อบริหารจัดการกิจการต่างๆ เป็นรูปแบบขององค์กรที่ได้รับการยกเว้นภาษี หากจะมองเปรียบเทียบก็ให้นึกถึงระบบของบริษัท ที่มีการทำรายงานภาษี, การปิดงบประจำปี เพื่อแจ้งกำไรสุทธิให้กับสรรพากรทราบ ดังนั้น ภาษีต่างๆที่เกิดตรงจุดนี้ ก็เป็นภาษีของหน่วยงาน ไม่ใช่เป็นขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (อ่านประวัติและที่มาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ [อ้างอิง 2])
เมื่อเข้าใจแนวคิดในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว ผมถือว่าทุกคนมองมุมเดียวกับผมละ หรือถ้าใครยังคาใจกับเหตุผลที่ผมมาบอกว่าอันนี้ปลอมหรืออันนั้นปลอม จึงขอวิพากย์ไปบนเอกสารสรรพากรที่อ้างว่าจะทูลเกล้าในหลวง เรียงลำดับจากรายละเอียดใหญ่ๆ ไปหารายละเอียดเล็กๆ ดังต่อไปนี้ครับ
- ภงด.94 เป็นการยื่นภาษีกลางปี สำหรับรายได้จากการค้าของบุคคลธรรมดา ที่อาจจะจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่คณะบุุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใน website ของสรรพกร ไม่ได้เขียนแสดงเอาประมวลรัษฎากรมาอธิบายให้ดู โดยคงไว้แค่ประเด็น ถาม-ตอบ สรุปใจความว่าหากผู้ได้รับ ภงด 94 คนจะเป็นบุคคลธรรมดาที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หรือ เป็นบุคคลที่ไม่ได้มีรายได้เป็นเงินเดือน แต่เงินได้มาจากค่าเช่า และหากเอกสารนี้เป็นจกหมายเพื่อทูลเกล้าฯจริง นั่นหมายถึงว่าในหลวง กำลังถูกประเมินรายได้จากการคิดค่าเช่าและการค้าขาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเลย
- เหตุผลที่สนับสนุนข้อแรก ก็เพราะตัวพระองค์ท่าน "ไม่สามารถถูกกำหนดสถานะเป็นบุคคลธรรมดา" โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนในหมวดพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ มาตรา 8 เป็นต้นไป จึงเป็นข้อยกเว้นในทางกฎหมายทั้งปวง หากคิดมุมกลับอย่างคนเสียภาษี หากซองนี้เป็นของเราเอง และมีผู้หยิบซองภาษีเรามาถ่ายรูปเล่น แล้วก็ลืมไม่ส่งไปรษณีย์ไปให้ หากเราโดนแบบนั้นและขาดส่งภาษีขึ้นมา กรมสรรพากรก็ต้องมีหน้าที่ในการเรียกร้อง แต่รัฐธรรมนูญได้ห้ามการเรียกร้องจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้นเหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้นไม่ได้
หมายเลขประจำตัวประชาชน ของกรมการปกครองไม่มีขึ้นต้นด้วยเลข 9 เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ ตามข้อกฎหมายเองมีการกำหนดเลขประจำตัวประชาชนไว้เพียง 8 ประเภท และหากจะเจาะลึกไปถึงตำแหน่งของตัวเลขบัตรประชาชน ในหลักที่ 6, 7, 8, 9, 10, 11 ระบุถึงหมวดระเบียนและลำดับ จึงไม่สมเหตุสมผลที่สำนักงานเขต จะถือครองทะเบียนบ้าน, และสูติบัตรของพระองค์ท่าน โดยกำหนดไว้ในระเบียนที่ 1 ลำดับที่ 1 ได้(อ่าน Development Story เพิ่มเติม)- เอกสารสรรพากร จะไม่แสดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดดเด่นอยู่ด้านหน้าซอง แต่จะพิมพ์ชื่อที่อยู่และหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไว้ให้ในซองเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแนบฟอร์มภาษีเปล่าอีก 1 ฉบับ เผื่อสำหรับข้อผิดพลาด ผู้เสียภาษีจะได้กรอกใหม่ได้
- ภาษาของทางราชการ ไม่เขียนว่า "เลขประชาชน" หากจะให้ถูกต้องควรเขียนคำว่า "เลขประจำตัวผู้เสียภาษี" หรือ "เลขประจำตัวฯ" เหมือนด้านขวาของซอง
- การระบุประเภท ภงด.94 ในบรรทัดเดียวกับเลขประชาชนตรงจ่าหน้า ตามแบบของสรรพากรไม่มี เพราะตัวซองเอกสารที่อยู่ภายในได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าแบบการเสียภาษีนี้เป็นประเภทใด รวมถึง Logo ของกรมสรรพากร ที่สามารถหาได้ง่าย แค่ไปที่ Google และค้นหาคำว่า "Logo สรรพากร"
- วิธีการจ่าหน้าซอง จะไม่ใช้การแปะกระดาษสติ๊กเกอร์ แต่จะเป็นการพิมพ์เวียนลงไปบนเนื้อเอกสารเลย การแปะ Sticker ที่ไม่เนียนจึงเห็นคำว่า "ชื่อ" ถูกทับอยู่ครึ่งตัว แต่การจ่าหน้าซองโดยสรรพากร จะระบุ ชื่อ, นามสกุล, เลขที่, ซอย, ถนน, แขวง, เขต, และจังหวัด เป็นคำแบ่งวรรคที่ชัดเจน ไม่ได้อยู่ในรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายส่งตามบ้าน
- รหัสไปรษณีย์ผิด อันนี้รับทราบมาจาก WebBoard อื่นๆ ที่ถูกต้องควรจะเป็น 10303 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของ แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต
ภาพซองจากสรรพากร รุปแบบ ภงด.91 ตัวจริง พยายามถ่ายเอียงให้เหมือน (ใครมี ภงด.94 ตัวจริงผมขอภาพด้วย) |
เอกสารที่อยู่ในซอง ไม่ใช่เอกสารของสรรพากร พยายามปรับ Contrast แล้ว |
- กระดาษ Sticker ถูกแปะทับไปบนกระดาษเพื่อใช้กรอกชื่อ, ที่อยู่ บางอย่าง หากปรับ Contrast โดยผ่านกระบวนการตกแต่งภาพจะพบว่า จะมีช่องให้ใส่ชื่อ, ห้องเลขที่, ชั้นที่, หมู่บ้าน, และข้อมูลอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แบบการเสียภาษีแน่นอน ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า "ซองนี้ถูกสอดใส้ไปแล้ว"
ไม่ใช่ทุกอย่างดูผิดไปหมด ส่วนที่ถูกก็ยังมีดังนี้
- พระนามขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิมพ์ได้ถูกต้อง เพียงแต่ไม่ครบจากพระนามเต็ม
- เอกสารถูกจัดส่งออกมาแล้วจากสรรพากรภาค 1 ซึ่งต้องส่งผ่านศูนย์ไปรษณีย์แจ้งวัฒนะที่เป็นศูนย์ใหญ่ แม้ซองไม่ถูกประทับตราใดๆก็ถือว่ายังถูกต้องเพราะฝากส่งแบบเหมาจ่าย
ข้อมูลเชิงลึกของภาพนี้ยังมีต่อ
จากการตรวจสอบภาพที่กระจายอยู่บน internet มีภาพหนึ่งที่อยู่ใน website พันทิพ มีข้อมูลของกล้องที่ถ่ายภาพนี้อยู่ ซึ่งผู้ Post ภาพโชคดีที่เก็บข้อมูลภาพต้นฉบับเอาไว้ (กระทู้อ้างอิง | ภาพต้นฉบับ) หากอ่านข้อมูล EXIF จะพบว่า เป็นกล้อง Kodak Easy-share จึงขอสมมติฐานว่าเป็นภาพไม่ตัดต่อ
ข้อมูลภาพถ่าย EXIF แสดงรายละเอียดของกล้องที่ถ่าย จาก Website exifdata |
บทความนี้เลยขอวิพากย์แค่ปัญหาของเอกสาร ภงด94 ที่อ้างว่ามาจากสรรพากรอาจจะถูกปลอมแปลงสร้างขึ้น หากมีเพื่อนๆช่วยสมทบข้อมูลเพิ่มเติม หรือใครที่มีข้อมูลที่อ้างอิงได้ในเชิงลึก ผมยินดีน้อมรับเพื่อแก้ไขเนื้อหาให้ถูกต้องต่อไปได้ครับ
Development Story on 29-Sep-2013
เนื่องจากผมอาจจะให้ข้อมูลเรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตรย์ไม่แม่นยำ จึงของยกเอกสารอ้างอิง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?" สำหรับผู้ที่จะลงรายละเอียดช่วงต้นได้ทราบเพิ่มเติมครับ
Development Story on 4-Feb-2014
มีผู้อ่าน blog โดย K.Pongmile ให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการอ้างอิงกับข้อมูลผ่าน e-service รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่ามีการบันทึกหมายเลขประจำตัวประชาชนและชื่อตรงกับข้อมูลนี้จริง ดังนั้นผมจึงขอ mark out ประเด็นเรื่องหมายเลขบัตรประชาชนออกไปก่อน ซึ่งตอนนี้หมายเลขบัตรประชาชนที่แสดงมีการบันทึกชื่อของในหลวงเป็นหมายเลขจริงตามที่ตรวจสอบมาครับ ทั้งนี้ผมอาจจะขออนุญาติ K.Pongmile ในการทำ blog ในประเด็นหมายเลขประจำตัวของชั้นพระบรมวงศานุวงศ์อีกทีหลังจากที่ทำการรวบรวมข้อมูลชัดเจนแล้วอีกครั้งนะครับ
Written by Tiwakorn Laophulsuk
15-Apr-2013