การพัฒนากล้องอวกาศจึงได้ต่อยอดไปในด้านอื่นๆที่มีความหลากหลาย และมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันมากขึ้น เช่น กล้องอวกาศ Spitzer ที่มองห้วงอวกาศในย่ายความถี่ Infrared, กล้องอวกาศ Kepler ใช้สำหรับมองวัตถุที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น, หรือกล้องอวกาศ Chandra ใช้สำหรับมองอวกาศในย่านความถี่ X-Ray
ในระยะเวลาอันสั้นนี้ กล้องอวกาศตัวใหม่ชื่อ เจมส์ เว็บ (James Webb Space Telescope) จะถูกปล่อยตัวเพื่อเป็นผู้มองอวกาศตัวใหม่ ซึ่งเป้าหมายหลักของ JWST คือ มองอวกาศให้ลึกกว่ากล้องอวกาศตัวอื่นๆ เพื่อจะให้เห็นจุดกำเนิดก่อนที่จะเกิดกาแลคซี โดยในทางทฤษฏีเชื่อว่า วัตถุจะมีคลื่นความถี่ Infrared ก่อนที่จะเกิดแสงที่มองเห็นได้เหมือนดวงดาวในทุกวันนี้
ความแตกต่างของภาพที่ตรวจจับด้วย Visible Light (แสงที่มนุษย์เห็น:ภาพบน) และ Infrared (ล่าง) |
ขนาดเปรียบเทียบหน้าตัดกระจกรับแสง ของกล้องอวกาศ 3 ตัว JWST ใหญ่สุดที่ 6.5m |
วงโคจร L2 เป็นวงโคจรพิเศษที่ดาวเทียม หรือกล้องอวกาศสามารถลอยอยู่กับที่ได้ โดยอยู่ในจุดด้านไกลของดวงจันทร์ประมาณ 1.5 ล้านไมล์ ซึ่งไกลกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ประมาณ 2.5 เท่า หลังจากที่กล้องอวกาศเข้าตำแหน่งแล้วตัวกล้องอวกาศจะใช้สมดุลของแรงดึงดูดโลกและดวงจันทร์เพื่อคงตำแหน่งไว้ โดยการรักษาตำแหน่งยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ไอพ่นขับเคลื่อนในบางเวลาเพื่อรักษาตำแหน่งวงโคจรอยู่ตลอดอายุการใช้งาน
ระยะทางของวงโคจร L2 |
Narrated by Tiwakorn Laophulsuk
No comments:
Post a Comment
Give a comment ...