10 June 2016

James Webb Telescope รอเปิดตัวกล้องอวกาศตัวใหม่

หลังจากยุคเริ่มต้นของการพัฒนากล้องอวกาศ (Space Telescope) โครงการกล้องโทรทัศน์อวกาศ Hubble เป็นโครงการแรกๆที่ทำให้มนุษย์ได้มองเห็นปรากฎการณ์ธรรมชาติในห้วงอวกาศได้มากขึ้นแบบเปลี่ยนโลกกันไปเลย

การพัฒนากล้องอวกาศจึงได้ต่อยอดไปในด้านอื่นๆที่มีความหลากหลาย และมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันมากขึ้น เช่น กล้องอวกาศ Spitzer ที่มองห้วงอวกาศในย่ายความถี่ Infrared, กล้องอวกาศ Kepler ใช้สำหรับมองวัตถุที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น, หรือกล้องอวกาศ Chandra ใช้สำหรับมองอวกาศในย่านความถี่ X-Ray

ในระยะเวลาอันสั้นนี้ กล้องอวกาศตัวใหม่ชื่อ เจมส์ เว็บ (James Webb Space Telescope) จะถูกปล่อยตัวเพื่อเป็นผู้มองอวกาศตัวใหม่ ซึ่งเป้าหมายหลักของ JWST คือ มองอวกาศให้ลึกกว่ากล้องอวกาศตัวอื่นๆ เพื่อจะให้เห็นจุดกำเนิดก่อนที่จะเกิดกาแลคซี โดยในทางทฤษฏีเชื่อว่า วัตถุจะมีคลื่นความถี่ Infrared ก่อนที่จะเกิดแสงที่มองเห็นได้เหมือนดวงดาวในทุกวันนี้

ความแตกต่างของภาพที่ตรวจจับด้วย Visible Light (แสงที่มนุษย์เห็น:ภาพบน) และ Infrared (ล่าง)
James Web Space Telescope (JWST) จะเป็นกล้องอวกาศที่เน้นการมองวัตถุในท้องฟ้าในย่านความถี่ Infrared ซึ่งเปรียบเทียบเหมือนกับกล้อง Spitezer (ของ Nasa) และ Herchel (ของ ESA โดยยุโรป) แต่จุดที่แตกต่างกันอย่างมากคือ พื้นที่รับภาพที่ JWST มีพื้นที่กระจกกว้าง 4.5 ตารางเมตร ซึ่งใหญ่กว่าของ Hubble ที่มีขนาดพื้นที่กระจกรับภาพเพียง 2.4 ตารางเมตร

ขนาดเปรียบเทียบหน้าตัดกระจกรับแสง
ของกล้องอวกาศ 3 ตัว JWST ใหญ่สุดที่ 6.5m

03 June 2016

ไฟเลี้ยว ใน กทม.

เรื่องการเปิดไฟเลี้ยวของคน กทม. มีพฤติกรรมอยู่สองอย่าง ผลสรุปคร่าวๆจากที่มโนมาเอง

ผู้ชายขับรถ เวลาเปลี่ยนเลนมักจะไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือมาเปิดไฟเลี้ยวซะตอนที่เข้ามาเกินครึ่งตัวแล้ว

ผู้หญิงขับรถ มักจะไม่ค่อยให้ทางเวลาที่มีคนเปิดไฟเลี้ยวขอเข้า จะพยายามขับเบี่ยงและขับจี้ไว้ไว้เพื่อกันไม่ให้อีกคันเลนเข้าได้

สรุปได้ว่า พฤติกรรมการขับรถของคนกรุงเทพ มีเหตุมีผลในตัวมันเองจากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ เพราะอีกคนไม่ให้เลนก็เลยไม่อยากเปิดไฟเลี้ยว ก็คงต้องสู้กันไปแบบนี้แหละ

Mr.JingJun