[images credits postjung.com] |
บริษัทขนาดเล็กหลายที่ ต้องเปิดบัญชีไว้หลายธนาคาร เพราะการค้าขายและทำธุรกรรมกับคู่ค้า บางทีก็ต้องอำนวยความสะดวกโดยการเปิดบัญชีรองรับ ซึ่งเราจริงๆแล้วก็ไม่อยากเปิด แต่ทำไงได้ ถ้าไม่เปิดเขาก็ไม่โอนเงินมาให้ ครั้นพอเงินโอนสะสมเข้าบัญชีมามากๆแล้ว ก็ลำบากเรื่องการย้ายมารวมในที่่ที่มีบัญชีที่บริหารจัดการสะดวกอีก
ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ มีเครื่องมือการบริหารเงินสดมาให้ใช้ แต่ที่จะบอกนี่ให้ใช้แค่บางเรื่องที่เหมาะสม ไม่ได้ให้ใช้ทุกบริการ เพราะต่างบริการ ต่างก็มีค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น ลองดูว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง
1. ทำบัญชีเช็ค: การไปเปิดบัญชีกระแสรายวันของแต่ละที่ จะต้องทำการสำรองเงินไว้ในนั้น ไม่ใช่อยากเปิดก็เปิดได้ การสำรองเงินไว้มีตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท แล้วแต่ธนาคาร บางครั้งการเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อจ่ายเช็ค อาจจะไม่สะดวกกับบริษัทที่เล็กจริงๆ
2. ย้ายแบบ BAHTNET: การทำ BAHTNET เป็นการโอนเงินข้ามธนาคารจำนวนมากๆ ได้ หรือครั้งละไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อรายการ ตามเงื่อนไขธนาคาร ทำโดยการไปที่เคาเตอร์ถอนเงินที่ธนาคารแรก และสั่งทำ Bahtnet ในเวลาไม่เกิน 15.00 น.นั้น เงินจะวิ่งไปอีกธนาคารนึงได้ทันทีในบ่ายของวันนั้น แต่แพงหน่อย เพราะค่าธรรมเนียมสูงถึง 150 บาท และปลายทางผู้รับโดนหัก 100 บาท
[images credits ehow.com] |
4. Internet Banking แบบ Corporate: ธนาคารจะมีช่องทางการให้บริการธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว ซึ่งจัดอยู่ในประเภท Biznet Internet Banking หรือ Online Cash Management ส่วนเรื่องของชื่อก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร โดยช่องทางพิเศษที่อยู่เฉพาะระบบ Online คือ SMART Crdit Same Day (ค่าธรรมเนียม 20 บาท ตัดเงิน 10 โมง เข้าปลายทางตอนบ่าย) และ Smart Credit Next Day (ค่าธรรมเนียม 12 บาท ตัดเงิน 10 โมง เข้าปลายทางตอนเช้าตรู่วันถัดไป) แต่การใช้บริการ Online อาจจะเสียค่าบริการเป็นรายปี ปีละ 1,000 - 4,000 บาท แล้วแต่เงื่อนไขที่ตกลงกัน
ด้วยเครื่องมือการจัดการเงินในแต่ละแบบ น่าจะช่วยให้เถ้าแก่ทั้งหลายสามารถหาเครื่องมือที่เหมาะสม ตามความเร่งด่วนของการจัดการเงินสด ซึ่งมีตัวเลือกค่าใช้จ่ายตั้งแต่ถูกจนถึงแพง แต่ว่าถ้าเราวางแผนการบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็สามารถเลี่ยงค่าธรรมเนียมโหดๆของบริการของธนาคารไปได้บ้าง
Written by Tiwakorn Laophulsuk
No comments:
Post a Comment
Give a comment ...