ประการที่ 1) ภาพลักษณ์ของกระทรวง ที่จนถึงปัจจุบัน สังคมยังมองว่ากระทรวงถูกตั้งขึ้นเพื่อการแปลงสัมปทานให้กับนักการเมือง แต่ที่จริงแล้ว การมีกระทรวง ICT ควรจะเป็นผู้กำหนดแผน, กระบวนการทำงาน, มาตรฐาน ของอุตสาหกรรม ICT ไม่เฉพาะเพียงแต่ในระบบราชการด้วยกัน แต่ควรจะทำถึงภาคเอกชนในระดับมหภาคด้วย
ประการที่ 2) เป็นผู้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต้องประกอบด้วยการคิดค้น, พัฒนาระบบ โดยเฉพาะข้อมูลภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ระบบอื่นๆ สามารถใช้งานร่วมด้วยได้อย่างสะดวก โดยมีความมั่นคงปลอดภัยตามสมควร เพื่อช่วยพัฒนาพื้นฐานของการบริการข้อมูลสารสนเทศ ให้เข้าถึงประชนชน, ห้างร้าน, หน่วยงาน, บริษัทต่างๆได้ ซึ่งภาพรวมจะช่วยให้มีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการยืนยันต่างๆ ได้สะดวกขึ้น
ประการที่ 3) เป็นผู้ลงทุนกิจการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบ VC (Venture Capital) คือ ให้ผู้ประกอบกิจการทั้งที่เป็นบุคคล และภาคการค้า เสนอโครงการและมีการร่วมลงทุนกับหน่วยควบคุมโครงการของกระทรวง หรือ การออกนโยบายให้บริษัทใหญ่ สามารถลงทุนกับกลุ่มธุรกิจใหม่ (Young Entrepreneur) โดยให้โอกาสในการลดหย่อนภาษีกับบริษัทมหาชนที่เข้าลงทุนในโครงการลักษณะนี้ได้
ประการที่ 4) เป็นผู้วางกรอบกฎหมาย ICT และทำการบังคับใช้ที่แข็งแกร่ง และทันต่อโลกาภิวัฒน์ โดยให้ พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ทำงานคู่กับกฎหมายลูกอื่นๆ อย่างสมเหตุสมผล การออกแบบร่างกฎหมายให้เป็นที่ยอมรับกับกลุ่มงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพด้าน ICT รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีมนุษยธรรม มีหลักการและเหตุผลอันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และในการเอาผิดตามกฎข้อบังคับ ไม่เชื่อมโยงเฉพาะประเด็นสถาบัน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง หรือไม่เป็นเครื่องมือให้กับการแสวงหาประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านกฎหมาย
ประการที่ 5) กำหนดแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์ความรู้พื้นฐานให้ ICT โดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ, ทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อวางกรอบการศึกษาด้าน ICT ให้ประชาชนรับทราบถึงอรรถประโยชน์ตามสมควรแก่วิชาชีพ, จัดให้วิชาความรู้เบื้องต้นในเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิชาพื้นฐาน ไม่ใช่เป็นเพียงการเรียนตามความสนใจ ให้เพียงพอกับกระประยุกต์ใช้ในเบื้องต้น และเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานขององค์ความรู้ โดยเป็นสื่อกลางในการจัดสอบมาตรฐานทางวิชาชีพที่เหมาะสมกับความต้องการจากธุรกิจภายในประเทศ
ประการที่ 6) การมีหน่วยงานให้ทันต่อโลกาภิวัฒน์ การคิดในระบบราชการ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการต่อการคิดค้นของโลกได้ การปรับตัวให้มีหน่วยงานเฉพาะ ที่ดูแลงานตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย กับการมีบุคคลากรข้าราชการที่เพียงพอ จะช่วยให้ลดการจัดจ้างภายนอก และใช้องค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อกระทรวงได้ เรื่องเฉพาะทาง เช่น Social Media, GIS, คลื่นความถี่, Satellite, Software Development Standard, TQM เหล่านี้ควรบรรจุให้มีกลุ่มงานดูแลเฉพาะเพื่อลดความขัดแย้ง
ประการที่ 7) การยุบรวมหน่วยงานที่มีความซ้ำซ้อน เช่น SIPA, Nectec, E-GA, E-Electronics ควรหาทางบูรณาการร่วมกัน ไม่ใช่ต่างหน่วยงานต่างทำงานเฉพาะของตน ซึ่งส่งผลให้ได้ชิ้นงานที่เป็นเฉพาะผลงานเพื่อการอนุมัติงบประมาณ ไม่ใช้ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
แนวทางการพัฒนา ICT ในประเทศในความเห็นส่วนบุคคล
ระยะสั้น
- การบูรณาการข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงาน หรือกำหนดวิธีการจัดการที่สามารถปฏิบัติภายในหน่วยงานได้
- ปรับเปลี่ยนกระบวนการคัดสรรค์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT การจัดแขนงของความเชี่ยวชาญเฉพาะ
- การให้ความรู้กับอุปกรณ์สารสนเทศ และประโยชน์การใช้งานใหเป็นที่ทราบ ในระดับสาธารณะ
- พื้นฐานการเรียนรู้/บทเรียน ด้าน ICT ให้เกิดในหน่วยการศึกษาทั้งระบบ
- ปรับโครงสร้างกระทรวง ICT ให้สามารถจัดการกระบวนการดำเนินการด้าน ICT ให้ได้หลากหลาย รองรับการทำงานจากภาครัฐและเอกชนในเวลาเดียวกัน
- โครงข่ายระบบสื่อสารข้อมูลสาธารณะ ที่ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลที่ตนเองสนใจได้ จากหลายพื้นที่ในราคาที่สามารถรับได้
- การคมนาคมขนส่ง และการลดต้นทุนทาง Logistic เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่มีความสามารถกระจายออกจากเมืองหลวงไปสู่ชุมชนได้ ซึ่งจะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้าน ICT ในระยะยาวได้
Written by Tiwakorn Laophulsuk
31-Aug-2011
This articles retreived from ITE511 class answer, Sripatum University